เมนู

ไม่ติดกัน. เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมในอากาสใด ฌานหมวด 4 หรือฌาน
หมวด 5 ย่อมเกิดขึ้น คำนั้น ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยคำที่เป็นอากาสภายนอกนี้.

นิเทศวิญญาณธาตุ


พึงทราบวินิจฉัยนิเทศวิญญาณธาตุ ต่อไป
ธาตุกล่าวคือ จักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุวิญญาณธาตุ. แม้ในธาตุ
ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. เมื่อพระโยคาวจรกำหนดธาตุ 6 เหล่านั้น ด้วยประโยคการ
ฉะนี้แล้ว ธาตุ 18 ชื่อว่า เป็นอันกำหนดแล้วได้อย่างไร ? คือโผฏฐัพพธาตุ
ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปถวี เตโช วาโย นั่นแหละก่อน.
ธรรมธาตุ เป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า อาโปธาตุ และอากาสธาตุนั้นเป็น
มโนธาตุ เป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่าวิญญาณ เพราะความที่มโนธาตุนั้น
เป็นธรรมเกิดก่อนและเกิดหลังของวิญญาณธาตุนั้นทีเดียว มีจักขุวิญญาณธาตุ
เป็นต้นมาแล้วในสูตรนั่นแหละ ธาตุ 9 อย่างที่เหลือบัณฑิตพึงนำมาแสดง.
จริงอยู่ จักขุธาตุอันเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณธาตุนั้น และรูป
ธาตุอันเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณธาตุนั้น ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์
ว่า จักขุวิญญาณธาตุ. ด้วยประการฉะนี้ โสตธาตุเป็นต้น ก็ย่อมเป็นอันท่าน
ถือเอาด้วยศัพท์ว่า โสตวิญญาณธาตุเป็นต้น ธาตุแม้ 18 ก็ย่อมเป็นอันถือเอา
แล้วด้วยประการฉะนี้.
บรรดาธาตุ 18 เหล่านั้น ท่านกำหนดรูปธาตุไว้ 10 กำหนดอรูป
ธาตุไว้ 7 ในธรรมธาตุ ท่านกำหนดเอารูปธาตุก็ กำหนดเอาอรูปธาตุก็มี
* มโนธาตุ 3 คือ อเหตุกกิริยา (ปัญจทวาราวัชชนจิต) 1 ดวง อเหตุกวิบาก (สัมปฏิฉันนจิต)
2 ดวง.

ด้วยเหตุนี้ การกำหนดรูปธาตุจึงมี 10 ครึ่ง ( 10 1/2) กำหนดอรูปธาตุจึงมี
7 ครึ่ง (7 1/2) เพราะฉะนั้น การถือเอารูปธาตุแลอรูปธาตุ ชื่อว่า ท่านถือ
เอาแล้ว. บัณฑิตพึงแสดงขันธ์ 5 ที่เป็นรูปและอรูป (อย่างนี้คือ) ธรรมที่
เป็นรูปและอรูปนั้นเป็นทุกขสัจจะ ตัณหาในภพก่อนที่เป็นเหตุให้ทุกขสัจจะ
นั้นตั้งขึ้น เป็นสมุทยสัจจะ ความไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ
ทั้ง 2 เป็นนิโรธสัจจะ มรรคอันเป็นเหตุรู้นิโรธสัจจะนั้น เป็นมรรคสัจจะ
กรรมฐานคือสัจจะ 4 นี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสธรรมเป็นเครื่องออกเพราะบรรลุธรรมอันสุงสุดจนถึงพระอรหัตของภิกษุผู้
มุ่งมั่นด้วยธาตุ 18.

นิเทศธาตุ 6 นัยที่สอง


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจ้าเมื่อจะทรงแสดงธาตุ 6 นัยที่สอง จึงตรัส
ว่า อปราปิ ฉ ธาตุโย (ธาตุ 6 อีกนัยหนึ่ง) เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น คำว่า สุขธาตุ ทกฺขธาตุ (สุขธาตุ ทุกขธาตุ)
ได้แก่ สุขและทุกข์ที่อาศัยกายประสาทเกิด ทรงแสดงกระทำให้เป็นของคู่กัน
ด้วยอำนาจความเป็นปฏิปักษ์กัน จริงอยู่ สุขเป็นปฏิปักษ์ (เป็นธรรมตรงกัน
ข้าม) ต่อทุกข์ ทุกข์ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อสุข. ฐาน (ที่) อันสุขแผ่ไปแล้วมีประมาณ
เท่าไร (ในกายนี้ ) ทุกข์ก็แผ่ไปมีประเท่านั้น. ฐานอันทุกข์แผ่ไปแล้วมี
ประมาณเท่าไร สุขก็แผ่ไปมีประมาณเท่านั้น.
คำว่า โสมนสฺสธาตุ โทมนสฺสธาตุ (โสมนัสสธาตุ โทมนัสส-
ธาตุ) แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำให้เป็นคู่กัน เหมือนอย่างสุขและ